
1.ขอเวลาตัดสินใจ
บางกรณีก็ยากจริงๆ ที่จะพูดว่าให้ยืมเงินไม่ได้ เช่น เพื่อนสนิท ญาติหรือคนในครอบครัว
ที่ต้องเจอหน้ากันทุกวัน ถ้ารู้สึกโดนต้อนจนจนมุมมากๆ ลอง “ขอเวลา” คนยืมเงินว่า
ขอฉันคิดดูก่อนนะการยืมเงินเป็นเรื่องใหญ่ค่ะ พวกเขาเองก็รู้ดีไม่งั้นคงไม่บากหน้ามาขอยืมเงิน
ถ้าคนมีมารยาทจริงๆ จะเข้าใจว่าคนถูกยืม มีสิทธิคิดได้ว่า จะให้ยืมเงินดีหรือไม่
แต่ถ้าคุณพูดว่าขอคิดดูก่อนนั่นหมายถึง การเปิดโอกาสการให้ความหวังคนที่ยืมนะคะ ดังนั้น
ต้องบอกพวกเขาด้วยว่าขอเวลานานแค่ไหนแล้วกลับไปคิดจริงๆ ว่ามีเงินพอจะให้ยืม
หรือไม่ ให้เวลายืมได้นานแค่ไหนแล้วถ้าเขายืมเงินไม่คืน มีผลกระทบกับความสัมพันธ์แค่ไหนด้วย
2.ไม่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินของตัวเอง
ถ้าต้องการลดแรงกดดัน หรือโอกาสที่เพื่อนยืมเงิน จะแวะมาเยี่ยมเยียนคุณ การไม่
เที่ยวบอกใครว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ มีเงินเก็บที่ไหนบ้าง มีทรัพย์สินหนี้สินเท่าไหร่ และอย่างไร
คือสิ่งที่คุณควรทำ ถ้ามีใครถามเรื่องเงินอาจจะพูดแบบกลางๆ ว่า “ก็พออยู่ได้จ้ะ”หรือ“พอมีพอกินเฉยๆ”
ไม่ต้องบอกตัวเลขโต้งๆ ว่ามีเงินสำรอง ฉุ ก เ ฉิ น ในบัญชีสามล้านบาทเพราะมันจะกลายเป็นสัญญาทางสังคม
รอบตัวคุณอย่างหนึ่งทันทีว่าเงิน ฉุ ก เ ฉิ น นี้อาจหมายถึงพอให้เพื่อนยืมเงิน อย่าง ฉุ ก เ ฉิ น
ก็เป็นได้ก่อนจากกันจำไว้อย่างหนึ่งว่าเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใครไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัว หรือไกลตัวดังนั้น
ถ้าไม่อยากเจอเคส เพื่อนยืมเงินไม่คืน ก็อย่าด่วนปากเร็ว ตัดสินใจเร็วและให้ใครยืมเงินทุกครั้งควรเก็บหลักฐานเช่น
อัดคลิปเสียงวิดีโอ หรือเซ็นสัญญายืมเงินทุกครั้ง
3.แสดงออกชัดเจนว่าไม่ให้ยืมเงิน
วิธีรับมือ เพื่อนยืมเงินวิธีแรกบอกให้ชัดเจนไปเลยว่าไม่ให้ใครยืมเงิน ตั้งแต่ต้นไม่ว่าจะเป็น
เพื่อนหรือญาติพี่น้องเมื่อเราชัดเจนว่าไม่ให้ยืมเงินตั้งแต่แรก มันก็ง่ายที่จะปฏิเสธ
โดยไม่จำเป็น ต้องมีข้ออ้างหรือเหตุผลอะไร อีกวิธีนี้เหมาะกับคนที่มีวินัย ในการใช้ชีวิตระดับหนึ่ง
นะคะ คือพึ่งพาตัวเองเป็นรู้จักดูแลตัวเอง เพราะถ้าเราไม่ให้ใครยืม เราก็ไม่ควรจะไปยืมเงิน หรือไหว้วานคนอื่นเช่นกันค่ะ
4.เสนอความช่วยเหลือในรูปแบบอื่น
นอกจากพูดว่า “ไม่” เราสามารถ ช่วยเหลือเพื่อนยืมเงิน หรือคนที่มายืมเงิน ในรูปแบบอื่นได้ เช่น
ถ้าพวกเขาไม่มีเงิน เพราะไม่มีงานทำก็ช่วยหางานให้พวกเขาทำทำ อ า ห า รเผื่อพวกเขาพวกเขาจะได้
ประหยัดเงินค่า อ า ห า ร หรือหาวิธีกู้เงินวิธีอื่นให้พวกเขาแทน เช่น กู้เงินธนาคาร เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่
แล้วคนที่มาขอยืมเงิน เราถ้าไม่ได้เงินพวกเขาอาจจะไม่ได้ต้องการวิธี หรือความช่วยเหลือแบบอื่น
ดูท่าทีของพวกเขาก่อนจะให้คำแนะนำด้วย
5.ให้ยืมแบบไม่หวังได้คืน
ถ้าจนแล้วจนรอด ยังไงก็รู้สึกว่าเพื่อนยืมเงินหรือคนยืมเงินคนนี้ เราต้องช่วยจริงๆ ไม่ให้ไม่ได้จริงๆ
ลองหาวิธีให้แบบที่เราคิดเสียว่าให้เงิน เป็นของขวัญไปเลยเช่น ใกล้วันเกิดของเพื่อน
ยืมเงินหรือคนยืมเงินคนนี้ ก็ให้เงินเขา ยืมแล้วก็บอกเขาไปเลยว่า งั้นให้เป็นของขวัญวันเกิดแล้วกันนะ
หรืออาจจะให้เป็นบัตรของขวัญวอยส์เชอร์ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต พวกเขาจะได้
เก็บเงิน ไปใช้จ่ายด้านอื่น ที่จำเป็นมากกว่าแทนวิธีนี้เป็นวิธีการช่วยเรื่องเงิน
ที่ลดความกระดากอายระหว่างกันได้มากเลยทีเดียวค่ะ
6.พูดตรงๆ และสั้นๆ
ตอนที่บอกปฏิเสธเพื่อนยืมเงิน ไม่ต้องอธิบาย สถานะทางการเงินของคุณ เช่นตอนนี้ ฉันมีแพลนใช้เงินเรียนต่อโท
ด้านบริหารธุรกิจฉันจะเอาเงินไป ศั ล ย ก ร ร ม ที่เกาหลีฯลฯ ไม่ให้ก็คือไม่ให้ คนยืมเงินอยากได้แค่เงินถ้าไม่ได้เงิน
ก็ไม่ได้ต้องอธิบายอะไรทั้งนั้นและเป็นสิทธิของเราด้วยที่จะไม่พูด แต่ถ้ากลัวว่าบทสนทนาจะตัดรอนกันเกินไป ลองปฏิเสธแบบสุ ภ า พ
แบบนี้ดูค่ะ “ฉันไม่มีเงินพอให้ใครยืมได้เลยช่วงนี้” “ฉันไม่ค่อยสบายใจเรื่องการให้ยืมเงินน่ะ” “ขอโทษนะแต่ให้ยืมไม่ได้จริงๆ”
ประโยคเหล่านี้ตรงไปตรงมาแต่ไม่ ห ย า บ ไม่ห้วนไม่ตัดรอน จนเกินไปและไม่ได้เปิดช่อง ให้คนมาขอยืมเงินได้อีกด้วย
ในอนาคต ให้จำไว้เสมอว่ามันเป็นเงินของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องอธิบายสถานะหรือวิธีการใช้เงินของคุณกับใคร
โดยเฉพาะคนที่จะยืมเงินของคุณ