
เข้าใจว่า.. ทุกวันนี้การศึกษา คือ “อนาคต” ความหวังที่จะช่วยพลิกโอกาส
ให้ลูกคุณมีอนาคตที่ดีหลายๆ ครอบครัวจึงทุ่มเท ทุ กสิ่งที่มีทั้ง เงิ น และ เวลา
แลกกับการให้ลูกได้เรียนโรงเรียนดีๆ มีราคาสูงคอสติวสอนพิเศษต่าง ๆ มากมาย
จนลืมไปว่า..ควรพัฒนาทักษะด้านอื่น ควบคู่กันไปด้วย
ตอนที่ลูกอายุได้ 2 ขวบ
เราส่งลูกเข้า “เนอสเซอรี่” หมดค่าใช้จ่ายไปปีละ 8 หมื่น เพียงแค่คิดว่ากลั วจะพัฒนา
ไม่ทันเพื่อน เรียนไม่ทันเพื่อนกลายเป็นส่งลูกไป ติ ด ห วั ด ที่โรงเรียน เพราะ
วัยนี้ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงพอ ไหนจะเสี่ ย งที่จะต้องเจอกับ พี่เลี้ยงที่ไม่ดี
สอนแบบผิ ดๆ อีก กลายเป็นพฤติกร ร ม ตัวอย่าง ที่ซึมซับมาโดยไม่รู้ตัว
เมื่อ..อนุบาล ยันประถม
เราจัดเต็ม ทั้งใน นอกหลักสูตร ต้องกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบเข้า ป.1 และ เสริมด้วย
คณิตศาสตร์ว่ายน้ำ ไวโอลิน อังกฤษ จีน ฯลฯกลั วลูกจะไม่เก่ง กลั วจะน้อยหน้าข้างบ้าน
หารู้ไม่ว่า“จิตนาการ” ต่างหาก คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะนำพาให้ลูกคุณเติบโตขึ้น
ไปเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ได้ในอนาคตแต่คุณกำลังบังคับให้ เรียนโน้น ทำนี่ ฝึกนั่น
เป็นการปิ ด กั้ น พัฒนาการในด้านการ “จินตนาการ”และการฝึกคิดไปโดยอั ตโนมัติเรากลัวว่า
ลูกจะไม่เก่งแต่ไม่เคยถามความรู้สึกของลูกจริงๆ ว่าเขาฝันอยากเป็นอะไรหรือ..
เพียงแค่เพราะเราแค่ยัดเยียดความฝันที่เราทำไม่สำเร็จความล้มเหลวที่เราทำให้พ่อแม่ผิ ด
หวังไปไว้ที่ลูกให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จเพื่อมาชดเชย “ปม” ความล้ ม เห ล วในอดีตของเรา
พอถึง..มัธยมอมเปรี้ยว
คราวนี้หนักเลย เพื่อที่จะสอบได้คะแนนดีๆ เพื่อเข้ามหาลัยดีๆ ได้ เรียนพิเศษทุกเย็นหลังเลิกเรียน
เสาร์ อาทิตย์ จัดเต็มวันปิดเทอมไม่มีพัก ส่งลูกเรียนซัมเมอร์ยุโรป ออ สเต รเลี ยบางทีลูกไม่อยากไป
แต่พ่อแม่นี่แหละ อยากให้ไป บางบ้านหมดเงินปีละ 6-7แสนเพียงเพื่อให้ลูกได้เรียนในสิ่งที่คิดว่าดี
(แต่ไม่รู้ดีจริงไหม..) ยังไม่ทันเข้ามหาลัยกดไปเป็น สิบล้าน..!!
ถึงวัยทำงาน คือ “โลกแห่งความเป็นจริง” พอลูกเรียนจบก็คาดหวังว่า.. ลูกฉันเลี้ยงมาอย่างพิเศษใส่ไข่
เพิ่มข้าวดังนั้นจะจ้างลูกฉัน มันต้องแพงกว่าสิ.. นี่ส่งเรียนไปสิบกว่าล้านเลยนะ
“ปัญหา คือ คุณค่าของใบปริญญา.. พ่อแม่ กับ นายจ้าง มองไม่เท่ากัน”พ่อแม่ชาวไทยให้ราคาค่า
ใบปริญญาลูกรักสูงมาก เพราะเราอยู่ในกระบวนการจ่ายเงินจริง ด้วยราคาสูง
อย่างย ากลำบ าก ย าวนาน 20 ปีนายจ้าง กลับให้ราคาไม่สูงเท่าพ่อแม่ กลับมีคำถามใหญ่ ๆ 3 คำถาม คือ
1.ลูกคุณทำอะไรเป็นบ้าง
2.ลูกคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้าง
3.ลูกคุณจะมาสร้างความสำเร็จอะไรให้ที่นี่
อ ย่ า ลืมว่ายุคนี้ คือ ยุคที่เปิดกว้าง..
“คนอินเดีย “ พร้อมบินมาทำงานที่ กทม. เขียนโปรแกรมเก่ง ยังกับคลอดออกมาจาก
คอมพิ วเ ต อร์แถมขยันขันแข็ง ยังกับหุ่น ย นต์“คนฟิลิปปินส์ อินโด มาเลย์ “ พร้อมจะบิน
มาทำงานที่กรุงเทพ พวกเขาเก่งภาษาอังกฤษ ลอจิกดี คุมงานเป็นหัวหน้าโปรเจคต์ พรีเซนต์ดี
ไม่แพ้ฝรั่ง“คนจีน “ ไม่ต้องพูดถึง ความขยันอ่ าน ขยันข ายของ ขยันพบลูกค้า ใจสู้มาก
ไม่ยอมแพ้ง่ายๆโดนด่ า ไม่ยุบ พวกนี้ คือ ยอดเซลล์แมนแต่ กับคนไทย ปริญญามหาลัยมันเริ่มจะเบลอ ๆ
ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เหมือนรุ่นพ่อแม่ แน่นอนว่าย่อมมี บางคนได้ไปต่อเจริญรุ่งเรืองโกอินเตอร์
แต่ก็มีจำนวนมากที่แป้ก ตั้งแต่อายุยังน้อยการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่หลายๆ คนยังจำกัดคำว่า
“การศึกษา”ไว้ในแค่ห้องเรียน ตัดสินว่าคนนั้นมีการศึกษาหรือ ไม่มีความรู้ จากวุฒิที่เรียนจบออกมา
และ หลายๆ คนนั้นก็เชื่อว่าการที่ได้เรียนจบสูงนั้นก็จะทำให้เรานั้นมีหน้าที่การงานที่ดี ดีต่ออนาคต
แต่ในโลกความเป็นจริงแล้ว การที่เรานั้นเรียนสูงก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะประสบความสำเร็จเสมอไป..