
“จะเรียนไปทำไม ถ้าสุดท้ายก็ได้งานที่ไม่ตรงสาย งานที่น้อยคนจะรู้จัก เงินเดือนที่ไม่ได้มากมายอะไร”คำถามนี้จะได้คำตอบที่
ทำให้กลุ้มใจมากเลยเพราะมันเต็มไปด้วยความคาดหวังที่คิดว่า “เรามีทางเลือกอยู่ไม่กี่อย่างในชีวิต”แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นความคิด
“ฉันทำงานอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะตรงสาย หรือไม่ก็ตาม”มันอาจเป็นประโยคคนแพ้ ในสายตาบางคน
แต่ถ้าคิดดูแล้วมันได้ความสบายใจเยอะกว่าการตั้งคำถามแบบแรก เพราะความเป็นจริงของชีวิต คือ
1. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในตัวเอง “แตกต่าง” กันไป เราไม่จำเป็นต้องเก่ง เหมือนกันหมด
2. แม้แต่ในคนคนเดียว ยังมีความสามารถที่หลากหลาย เช่น เป็นหมอ แต่ก็เล่นดนตรีเก่ง ทำอาหารเก่ง เป็นศิลปิน
แต่ก็คำนวณเก่ง ขับรถเก่งในครั้งหนึ่งที่เ ร า ไม่เห็นประโยชน์ว่าจะใช้อะไรได้จริงพอโตขึ้นอีกหน่อย มันก็ต้องมีบ้างที่เรานึกอะไรขึ้นมา
จนต้องไปหาอ่านปัดฝุ่นตำราอีกครั้งทุกความรู้ที่เราได้รับ ไม่เคยสูญเปล่า แค่เรามองไม่เห็นค่ามันเอง ลองนึกดูให้ดีสิ
3. สิ่งที่เราเรียนมาเป็นสิบเป็นร้อย มันคือ “การหล่อหลอม” หลายวิชาไม่ได้สอนเราทางตรงแต่ให้เราค่อยๆ
ซึมซับข้อดีแต่ละอย่างไปเองเช่น ฝึกความอดทน ฝึกความประณีต ฝึกทักษะการเข้าสังคม
4. สิ่งที่เรา “เก่ง” ไม่จำเป็นต้องออกมาในรูปแบบวิชาชีพเช่น หมอ วิศวกร พย าบ าล มันอาจเป็นพรสวรรค์ก็ได้
เป็นความรู้อะไรก็ได้ที่เราเอาจริงกับมัน เช่นการทำอาหาร การจัดสวน การออกแบบ
ไม่อย่างงั้นเราคงไม่เห็นนักธุรกิจหน้าใหม่หลายคน ผุดขึ้นเป็น ด อ ก เห็ดหรอก
5. มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์เราจะต้องวิ่งตามหาสิ่งที่ “ใช่” ค่อย ๆ เรีย น รู้ ค่อย ๆ ปรับตัวไปสิ่งที่เรากำลังสนุกในตอนนี้
บางทีอาจจะยังไม่ใช่ที่สุดสิ่งที่เราเก่งในตอนนี้ ในวันข้างหน้ามันอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำเพราะอาจมี
หลายปัจจัยให้คิดมากขึ้น เช่นจำเป็นต้องพับโครงการเรียนต่อเอาไว้ เพราะเงินไม่พอจำเป็นต้องทำงานหาเงินก่อน แล้ว
ค่อยไปเรียนศิลปะที่เราชอบเราต้องดูจังหวะของชีวิตด้วย(ความจำเป็นของชีวิตแต่ละช่วง)
6. มนุษย์เราควรมีทางเลือกให้กับชีวิตไว้หลายด้าน หรือ “มีแผนสำรอง”เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นตัวเองจนเกินไป เช่น
ถ้าวุฒิที่เราเรียนมามั นหางานยากจะยอมรึเปล่าที่เอาวุฒิต่ำกว่านี้หางานไปก่อนถ้าเราไม่ได้อาชีพนี้รายอม
ได้รึเปล่าที่จะทำอาชีพอื่นไปพลางๆก่อน ความฝัน สิ่งที่ใช่มันไม่ควรเป็นสิ่งที่ได้ดั่งใจในทันที
7. ในรั้วโรงเรียนต่อให้เราได้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งแค่ไหนขอบเขตความรู้มันก็เป็นเพียงความรู้ในรั้วเท่านั้นโลกของวัยผู้ใหญ่ที่โตขึ้น
เรายังต้องรู้เห็นอีกมากเรียนรู้กันอีกยาว ลองผิดลองถูกกันอีกเยอะดังนั้น จะมาฟั น ธงว่าเรียนมาสายวิทย์ ต้องทำงานสายวิทย์เรียนสายภาษาต้อง
ทำงานสายภาษามันก็ไม่ถูกเสมอไป มันเป็นเรื่องธรรมดามาก ที่ต้องแลกกับความเหนื่อย ความพย า ย ามหลายเท่าตัวจึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากจะพบว่า
หมอบางคนแต่งเพลงได้บางคนเรียนวิชาชีพแต่มาเป็นศิลปิน บางคนเรียนไม่จบแต่ประสบความสำเร็จถ้ายังไม่เข้าใจในข้อนี้ ลองย้อนกลับไปอ่านข้อ
6 อีกรอบขึ้นชื่อว่า “ความรู้” เราได้รับมาถึงจะไม่ได้ใช้ในทันทีก็ไม่ควรเสียดาย ขึ้นชื่อว่า “ความฝัน”ถึงจะยังไม่ใช่ในวันนี้ ใช่ว่าวันหน้าจะเป็นไปไม่ได้
มันอยู่ที่เราล้วนๆว่า “รู้ตัวดีหรือไม่ ว่าทำอะไรอยู่”และ “พร้อมจะยืดหยุ่นกับทุกสถานการณ์ชีวิตรึเปล่า”
อย่ าลืมว่าโลกเรากลม และมีหลายมิติ ใช่ว่าจะต้องมองเพียงด้านเดียว