
ให้ปลาลูกหนึ่งตัว มีกินแค่หนึ่งวัน สอนลูกจับปลา หากินได้ตลอดไปจงอย่าให้ปลาแก่เขา… ควรจะให้เบ็ดตกปลาเขาไป
แล้วสอนวิธีการหาปลาให้แก่เขาเพื่อให้เขารู้จักการเอาตัวรอดในสังคมและ รู้จักการหากินด้วยตัวของเขาเอง
มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งว่า…วัยรุ่นคนหนึ่งขอเงินแม่ไปเที่ยว แม่บอกว่า ลูกรู้ไหมว่าสมัยแม่อายุเท่าลูก ไม่เคยเที่ยวที่ไหน
ต้องทำงานทุกอย่าง พับถุงกระดาษขาย ตัดใบตองขนไปส่งขายในตลาด แต่ละบาทแต่ละสตางค์ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ
ลูกนั่งฟังแม่เงียบๆ… ลูกต้องรู้จักความลำบาก ไม่งั้นอีกหน่อย เกิดไม่มีแม่แล้วจะทำยังไง ซักผ้าเองยังไม่ได้ ขึ้นรถเมล์ก็ไม่เป็น
ใช้เงินอย่างนี้ จะเอาตัวรอดได้ยังไง เมื่อแม่เทศน์จบ ก็ควักเงินยื่นให้ลูก นี่ไม่ใช่เรื่องแต่ง พ่อแม่จำนวนมากทำอย่างนี้
เมื่อลูกขอเงินไปเที่ยว จะพร่ำบ่นลูก และ เล่าเรื่องเมื่อตนเผชิญความลำบากในสมัยก่อนเล่าย้อนไปถึงชีวิตลำบากของตนในวัยเท่ากัน
แล้วปิดท้ายด้วยการให้เงินลูกไปคนหาเช้ากินค่ำ สมัยก่อนไม่มีคำว่า… “มรดก” ในพจนานุกรมชีวิต ทุกอย่างในชีวิตต้องหามาเอง
ทว่าคนรุ่นนี้เมื่อลืมตาอ้าปากได้ และ เป็นพ่อแม่ มักจะทำให้ลูกเสี ยคนโดยไม่ตั้งใจ พ่อแม่จำนวนมากเก็บเงินเก็บทองไว้
โดยไม่ยอมใช้ บอกว่า… “เก็บไว้ให้ลูก” เหตุผลอาจเพราะ พ่อแม่ไม่ อ ย า ก ให้ลูก ผ่านความลำบากเหมือนตัวเอง
การเตรียมทุกอย่างให้ลูก เหมือนสะท้อนสิ่งที่ตัวเอง อ ย า ก ได้ในวัยเด็ก แต่มันกลับสร้างนิสัย “ไม่สู้งานหนัก” ให้ลูก… ไปโดย ป ริ ย า ย
ไม่มีเงินเป็นปัญหา มีเงินก็เป็นปัญหา บางครั้ง และ บ่อยครั้งการมีเงินมาก อาจทำให้เลี้ยงลูก ย า ก ขึ้น
เงินก็เหมือน ไ ข มั น ใน ร่ า ง ก า ย น้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ ” อั น ต ร า ย “ในสังคมบูชาคนรวย และ การรวยทางลัด
การอบรมสั่งสอนลูก เดี๋ยวนี้ ย า กขึ้นเรื่อยๆ เพราะสิ่งเร้ารอบตัวทางเดียวที่จะให้ลูกโตขึ้น แล้วยืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้
คือต้องสอนเรื่องวินัยการใช้เงินและความอดทน การรู้จักใช้ชีวิต และ รับผิดชอบตัวเองอย่าสร้างปัญหาแก่สังคม ไม่พอกพูนด้วย ”
ไ ข มั น แ ห่ ง วั ต ถุ นิ ย ม “ มากเกินไปพ่อแม่ต้องมองภาพกว้างและมองให้ออกว่า หากให้มากเกินไปจะทำให้ลูกไม่รู้จักหามาด้วยตัวเองหรือไม่
ทำอะไรไม่เป็นเลยหรือเปล่า กลายเป็นรอแต่แบมือขออย่างเดียว ความรักย่อมเป็นเรื่องดี แต่ต้องรักให้ถูกวิธีด้วยคนรวยที่ฉลาด รู้ว่าการได้เงิน
เป็นเรื่องง่ายกว่าการใช้เงิน และ คนที่ไม่รู้จักหาเงินมักใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยคนที่รวยจากสมบัติที่ได้มาง่ายๆ จากมรดก อาจจะขาดความรู้สึกดีๆ
ของการสร้างตัวด้วยตัวเองขาดความภาคภูมิใจของการหามาได้ และ ทักษะการแก้ปัญหาชีวิต มีตัวอย่างจริงไม่น้อยที่คนรวยแบ่งสมบัติครึ่งหนึ่ง
ให้องค์กรการกุศลและ ที่เหลือให้ลูกหลาน เพื่อให้ลูกๆเรียนรู้ที่จะยืนด้วยตัวเอง และ สร้างมันขึ้นมาใหม่
มหาเศรษฐีลำดับต้นๆ ของโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า… ลูกๆ ของเขาจะต้องแผ้วถางทางของพวกเขาเอง
แน่นอนลูกๆ ของเขาก็รู้ว่า เขารอช่วยทุกอย่าง แต่ก็ต้องลงแรงทำงาน การให้เงินทองแก่ลูกหลาน ด้วยจำนวนที่มากพอสบายทั้งชีวิต
เพียงเพราะพวกเขาเกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย เป็นเรื่อง อั น ต ร า ย
เพราะการให้อาจทำ ร้ า ย ลูกๆทางอ้อม บัฟเฟตต์จึงให้มรดกแก่ลูกหลาน มากพอที่พวกเขารู้สึกว่า สามารถทำอะไรก็ได้
แต่… ไม่มากพอที่พวกเขา ไม่ต้องทำอะไรเลย เราต้องสอนค่านิยมชื่นชมบุคคลที่สร้างตนเองจากศูนย์ หาเงินอย่างสุจริต
รู้คุณค่าของการทำงาน การสร้างตัว สิ่งที่ควรให้ลูกๆมากกว่าเงินก็คือความเอาใจใส่ รับรู้กิจ ก ร ร ม ที่ลูกทำเป็นเพื่อนกับลูก
นี่อาจเป็นสิ่งที่มีค่ากว่าการให้เงินอย่างเดียว ตามสุภาษิตที่ว่า… “สอนลูกจับปลา ไม่ใช่จับปลาให้ลูก”
ขอขอบคุณ b i t c o r e t e c h