
ใคร ๆ ก็ฝันอย ากจะมีเงินล้านกันทั้งนั้น ต่อให้จะเป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ
ก็เถอะ แต่หลายคนก็มีคำถามว่า ฝันนี้มันใหญ่หรือว่าไกลเกินตัวไปไหม จะบอกว่าจริง ๆแล้วไม่เลย
เพราะเรามีตัวอย่างให้เห็นมากมายบางคนเริ่มจากศูนย์ ก็ประสบความสำเร็จมีเงินเก็บเป็นล้านก็ถมเถ
บางคนเป็น เด็ กวั ด แต่ทุกวันนี้ทุนทรัพย์หลักหลายร้อยล้านบางคนบ้านล้มละลาย สุดท้ายกลายเป็นเถ้าแก่น้อย
แล้วแบบนี้มันจะไกลเกินฝัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราไปได้อย่างไร งั้นเรามาเริ่มออมเงินให้ถึงล้านกันเลยค่ะ
1. เก็บก่อนใช้ ไม่ใช่ใช้ก่อนเก็บ
“ไม่รู้เงินไปไหนหมด” เราเชื่อว่าทุกคนคงเคย พูดประโยคนี้ด้วยกันทั้งนั้น เพราะหลังจากเงินเดือนเข้าบัญชี
ไม่กี่วันมันก็กลับหนีจากเราไปเอาเสียดื้อ ๆ นั้นเพราะอะไร ก็เพราะพอคุณรู้สึกว่าคุณมีเงิน คุณก็จะใช้มันอย่างไม่ลืม
หูลืมตาคุณจะออกไปกินอ าห า รมื้อแพง ๆ ที่คุณนัดเพื่อนไว้ตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว คุณจะไปซื้อของชิ้นที่คุณอย ากได้
หลังจากที่เล็งมานาน คุณจะนัดเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันแสนนานมาปาร์ตี้ เพราะคุณรู้สึกว่าคุณมีเงินเต็มกระเป๋า
คุณจะซื้อของจุกจิก เพราะคุณคิดว่ามันแค่ไม่กี่บาท คราวนี้รู้หรือยังละว่า“เงินไปไหนหมด”งั้นเราลองมา “เปลี่ยน”
จากนี้ไป เมื่อถึงวันที่เงินเดือนพุ่งเข้าบัญชี เราอย ากให้คุณลอง เกิดความรู้สึกนี้เป็นอย่างแรก “หวง”
หวงกลัวว่าเงินจะหาย ฉะนั้นแบ่งออกมาเลยสัก 30% ของเงินเดือน ถ้าคุณไหว แต่ถ้าอย ากมีเงินล้านไว ๆ
เราขอแนะนำให้คุณไหว จากนั้น เอา 30% ที่ว่า ไปเก็บเข้าแบงค์ไว้ซะ แนะนำว่าแบงค์นี้คุณไม่ควรทำ
ATM เอาไว้ นี่คือกลยุทธ์เพิ่มความย ากลำบาก ในการถอนมันออกมา กลั้นใจทำแบบนี้สัก 6 เดือน
พอคุณเห็นเงินก้อน เราเชื่อว่าคุณจะไม่รู้สึกลำบากในการแบ่งมันออกมาเก็บ เชื่อสิ
2. รู้จักวิธีสร้างฐานการเงินให้กับตัวเอง
นี่เป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนหลายคน มองข้าม และเรื่องนี้แหละ ที่มันทำให้เกิดคำว่า “ไม่มีงานก็ไม่มีเงิน”
มนุษย์เงินเดือนจึงกลัวการไม่มีงานทำ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณหยุดทำงานคุณก็จะกลายเป็นคนไม่มีรายได้ในทันที งั้นลอง
“เปลี่ยน” เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนคุณภาพ ฉันเป็นมนุษย์เงินเดือนก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่า
ฉันต้องทำงานหาเงินไปจนต า ยมนุษย์เงินเดือนที่ฉลาดและอย ากมีเงินล้าน ต้องรู้จักวิธีสร้างฐานการเงินให้กับตัวเอง
หลังจากที่คุณ แบ่ง 30% ไปเก็บ ในธนาคารเรียบร้อย เราแนะนำให้คุณ เอาอีก 10% หรือถ้าคุณใจถึง 20% ไปเลย
ตรงนี้ ให้คุณเอาไปซื้อพวกกองทุนเกษียณหรือพวกประกันชีวิตที่เป็นรูปแบบของเงินออม ที่ไร้ความ เ สี่ ย ง
เน้นว่าไร้ความ เ สี่ ย ง นะ นั่นหมายความว่า เมือครบกำหนดสัญญาคุณจะได้ผลตอบแทนเป็นตัวเลขที่แน่นอน
(ซึ่งต่างจากพวกหุ้นหรือกองทุน เหล่านั้นจะมีความ เ สี่ ย ง และถ้าเงินคุณยังไม่ถึงขั้นเหลือเงินมากพอ เรายังไม่แนะนำ)
ซึ่งเงินที่คุณลงไปกับฐานการเงินเหล่านี้ นี่แหละมันจะทำให้คุณรู้ว่า อีก 20 หรือ 30 ปีข้างหน้า คุณจะมีเงินก้อนนอน
รอให้คุณหยุดงานไปใช้สบาย ๆ ได้เท่าไหร่ พูดง่าย ๆ ฐานการเงินที่คุณเจียด
เพียง 10 หรือ 20% ไปสร้างในวันนี้ จะมีผลต่อเงินในอนาคตของคุณอย่างมากเลยละ
3. แบ่งก้อนเงินฉุ กเ ฉิ น
หลายคนมักชะล่าใจ คิดว่าชีวิตจะไม่มีเรื่องอะไรให้วุ่น แต่ที่จริงแล้วเรื่องฉุ กเ ฉิ นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
และหลายเรื่องฉุ กเ ฉิ นที่เกิดขึ้นมักต้องใช้เงิน แล้วมนุษย์เงินเดือนที่ขาดการวางแผน มักจะต า ยตรงนี้ตรงที่เวลา
เจอเรื่องฉุ กเ ฉิ นแล้วไปไม่เป็นเพราะไม่มีเงินสำรองไว้เพื่อรองรับตรงนี้เลย บางคนมีเงินเก็บนะ แต่ไม่ได้เผื่อเงิน
ก้อนฉุกเฉินเอาไว้ ถึงเวลามีเรื่องฉุ กเ ฉิ นเกิดขึ้นกับชีวิต ก็จำเป็นต้องไปเบิกเงินเก็บที่เพียรเก็บมาทั้งชีวิต
ไปใช้ในสถานการณ์ฉุ กเ ฉิ นจนหมดฉะนั้น เราต้องไม่ลืมเก็บเงินก้อนนี้ไว้ด้วย อย่างน้อย สัก 10% ของเงินเดือน
ก็ดูจะเป็นตัวเลขที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เพราะที่จริง เราไม่น่าจะ โ ช ค ร้ า ย เจอกับเรื่องฉุ กเ ฉิ นบ่อยนักหรอก
จริงไหม หรือบางคนอาจจะ แบ่งเงินฉุ กเ ฉิ นเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เก็บเป็นเงินสดส่วนที่สอง นำไปซื้อประกัน สุ ข ภ า พ
แบบนี้ก็ยอดเยี่ยมไปเลย เพราะ เราทำงานทุกวัน ไม่รู้จะ ป่ ว ย วันไหน การ เ จ็ บ ป่ ว ย จึงถือเป็นเรื่องฉุ กเ ฉิ น
อย่างหนึ่ง เงินฉุ กเ ฉิ นในส่วนที่เราแบ่งไปซื้อประกัน สุ ข ภ า พ นี่แหละ ที่จะทำให้เราไม่ต้องไปเบิกเงินเก็บทั้งหมด
ออกมาเพื่อรั ก ษาตัวเอง คราวนี้คุณเห็นความสำคัญของเงินก้อนนี้หรือยัง แล้วถ้าโชคดีปีนั้นคุณไม่เจอ เรื่องฉุ กเ ฉิ นใด ๆ เลย
คุณจะแบ่งเงินจำนวนหนึ่งที่เก็บได้ ไปซื้อของขวัญให้ตัวเองสักชิ้น หรือซื้อ ค อ ร์ ส เรียนดี ๆ เพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง ก็ยังได้
4. ทำบัญชี
หลังจากที่เรารู้จัก การแบ่งงบเป็นก้อน ๆ แล้ว จะเห็นว่าเราก็ยังมีเงินอีกจำนวนหนึ่ง ที่จะสามารถใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้
หลายคนบอกว่า มันดูน้อยจัง นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่ชินต่างหากคุณเคยอยู่อย่างมีมากใช้มาก คราวนี้ คุณลองลืมเงิน
ก้อนที่เราแบ่งตามส่วนใน ข้อ 1 2 และ 3 ไปซะ แล้วมาปรับชีวิตให้กลายเป็นคน มีน้อยใช้น้อย ดูบ้างการทำบัญชีรายจ่ายในแต่ละวัน
ย้ำว่าให้ทำเป็นรายวัน เพราะมันจะเห็นตัวเลขที่ชัดเจนมาก ทำบัญชีรายวันทำอย่างไร ง่ายที่สุด เราแนะนำให้
คุณจดทุกบาททุกสตางค์ที่ออกจากกระเป๋าเลยนะ จะไปทานอ าห า รบุฟเฟ่ต์มื้อละหลายร้อยกับเพื่อน ๆ จะหารค่าแท็กซี่
คนละไม่กี่สิบบาท หรือจะจ่ายค่าน้ำแค่ขวดละ 7 บาทคุณก็ต้องไม่ลืมจด แล้วก่อนนอน คุณก็ลองมาสรุปรวบยอดว่า
วันนี้คุณใช้เงินไปทั้งหมดเท่าไหร่ ลองทำแบบนี้แค่สักหนึ่งเดือนเท่านั้น แล้วคุณจะเห็นความมหัศจรรย์ของมัน
เพราะคุณจะรู้ว่ารายจ่ายตรงไหนที่น่าเสียดาย รายจ่ายตรงไหน ที่มันดูไม่ใช่เหตุ หรือ รายจ่ายตรงไหน
ที่จริง ๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายก็ได้ จากนั้นมันจะทำให้คุณเป็นคนคิดหน้าคิดหลังเวลาใช้เงิน
ไม่ได้หมายความว่าคุณจะกลายเป็นคน “งก” หรอกนะ เขาเรียกว่า “ใช้เงินเป็น” ต่างหาก
5. ตัดงบฟุ่มเฟือย
เรื่องนี้คือผลพลอยได้แบบเต็มรูปแบบจากการที่เรารู้จักทำบัญชีรายจ่าย เพราะมนุษย์เงินเดือนที่อย ากจะมีเงินล้าน
จะเริ่มเห็นว่า รายจ่ายส่วนไหนที่เป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และพวกเขาจะเริ่มตัดมันออกซะ เช่น จากเคยนัดเพื่อนทานบุฟเฟต์
เดือนละหลายครั้ง พวกเขาจะเริ่มรู้ว่า พวกเขาเสียหายไปกับคำว่าบุฟเฟ่ต์เป็นเงินเท่าไหร่ ต่อเดือน และมันน่าเสียดายแค่ไหน
จากนั้นพวกเขาจะเริ่มลดจำนวนครั้ง ที่ทานบุฟเฟ่ต์ลง หรือเริ่มเปลี่ยนที่นัดเพือนใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นร้านอ าห า ร
ที่ดูดีแต่จ่ายน้อยกว่า พวกเขาจะเริ่มเห็นว่าตัวเลขที่เขาจ่ายไปกับการช็อปปิ้งแบบไหนที่เกินความจำเป็นบ้าง
เพราะเสื้อผ้าบางตัวที่จ่ายไปในราคาแสนแพงบางครั้ง มันยังไม่เคยถูกหยิบมาใส่เลยด้วยซ้ำ แต่วันนั้นที่ซื้อ
เพราะพวกเขารู้สึกว่าพวกเขามีเงิน และมันไม่ได้หนักหนาอะไรก็เท่านั้นและยังมีอีกหลายรายจ่าย ที่มนุษย์เงินเดือน
ที่อย ากมีเงินล้าน จะเริ่มเห็นและพวกเขา จะเริ่มเปลี่ยนพฤติกร รมการใช้จ่ายจนเกิดเป็นนิสัย และสุดท้ายเป้าหมายของ
การมีเงินล้านของพวกเขาก็จะสำเร็จในที่สุด