
รายได้ของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน มีทั้งรายได้น้อย รายได้มาก แต่หากเราตั้งใจที่จะออมเงินจริงๆ
การที่เรามีรายได้น้อยไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำให้เราไม่ออมเงินค่ะสำหรับใครที่มีรายได้ไม่เยอะ อย่างเช่น น้องๆ
ที่เพิ่งเรียนจบ เพิ่งไปทำงานวันแรกๆ หรือคนที่ได้เงินเดือนยังไม่เยอะเงินมาก เราสามารถทำอะไรได้บ้าง
เพื่อให้เงินเก็บของเราเพิ่มมากขึ้นหากอย ากจะมีเงินเก็บเยอะขึ้น วันนี้เราก็มีวิธีการออมเงินมาแชร์ให้
ทุกคนได้ลองไปทำตามกัน ใครที่มีรายได้น้อย รายได้ไม่มากเท่าคนอื่นแต่อย ากจะมีเงินเก็บให้เยอะขึ้น
ลองมาดูวิธีการออมเงินที่เราสรุปมาให้ค่ะ เก็บเงิน ออมเงิน วิธีเก็บเงิน วิธีออมเงิน รายได้น้อย
เก็บเงินไม่เก่ง เงินเดือนน้อย5 วิธีเก็บเงินให้ได้เยอะ สำหรับคนรายได้น้อยและออมเงินไม่เก่ง
1. เก็บก่อนใช้
สมการที่เราต้องจำและนำไปใช้ ก็คือ รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่ายค่ะ สำหรับบางคนที่คิดว่าเดี๋ยว
ได้เงินมาแล้วก็ใช้จ่ายไปก่อน เหลือเท่าไหร่ก็ค่อยเก็บ บอกเลยว่ามีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของคนที่คิดแบบนี้
จะออมเงินได้ค่ะ เพราะส่วนมากแทบจะไม่เหลือเงินไว้เก็บเลยหรือถ้ามีเหลือก็จะน้อยมาก ต่อไปนี้ลองปรับวิธีใหม่ค่ะ
ได้เงินเข้ามาไม่ว่าจำนวนมากหรือน้อย จะเป็นเงินเดือนหรือค่าอะไรก็ตาม หักไว้ก่อน 1 ส่วนเอาไปเก็บทันทีค่ะ
ยกตัวอย่าง เรามีรายได้จากการทำงาน 10,000 บ าท หักไปเก็บเลยทันที 1,000 บ าท แบบไม่มีข้อต่อรองค่ะ
เหลือเท่าไหร่ก็ค่อยเอาเงินส่วนนั้นไปบริหารจัดการ แบบนี้จึงจะทำให้เรามีเงินออมมากขึ้นค่ะ
2. แยกบัญชี
บางคนใช้แค่บัญชีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินโ อ นออก เงินที่เราถอนออกไปใช้จ่ายนู่นนี่
ซึ่งพอเราทำธุรก รรมทางการเงินมากๆ เข้า เราก็จะไม่รู้เลยว่าสุดท้ายแล้วเรามีเงินเก็บเหลืออยู่เท่าไหร่
เงินเก็บของเราเพิ่มขึ้นมากน้อยหรือไม่ดังนั้นเราจึงควรแยกบัญชีไว้เลยว่าเป็นบัญชีรายได้และบัญชีเงินเก็บ
ซึ่งบัญชีรายได้ก็คือบัญชีเงินเดือนหรือบัญชีที่เรารับเงินเข้ามา สามารถเบิกถอนและโ อ น เงินได้ตามปกติ
จะทำบัตร A T M คู่กับบัญชีนี้ด้วยก็ได้ค่ะ ส่วนอีกบัญชีคือเงินเก็บโดยที่บัญชีนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีบัตร A T M
เน้นการฝากเงินเข้าอย่างเดียวซึ่งบัญชีนี้จะทำให้เราเห็นว่ามียอดเงินเพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่ เมื่อครบ 6 เดือนหรือ 1 ปี
ก็มาลองปรับสมุด เช็คยอดเงินดูว่าเราเก็บออมไว้ได้เพิ่มมากเท่าไหร่แล้วค่ะ
3. แบ่งเงินใช้เป็นรายวัน
วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหรือว่าคนที่กำลังจะจริงจังกับการเก็บเงิน แต่ว่าหักห้ามใจตัวเองไม่ได้ค่ะ
ซึ่งข้อดีของวิธีนี้ก็คือสามารถทำให้เราจำกัดวงเงินในการใช้เงินของเราในแต่ละวันได้ ทำให้เราไม่ใช้
เงินเกินตัว หรือว่าไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยค่ะวิธีการก็คือเราต้องคำนวณก่อนว่า ในแต่ละวันเราใช้เงินเท่าไหร่
ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่ า อ า ห า ร และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น ลองคำนวณมาแล้วว่าเรา
ใช้เงินวันละ 300 บ าท ใน 1 อาทิตย์คิดเป็นเงินทั้งหมด 2,100 บ าท ก็เบิกเงินมาเลย 2,100 บ าทแล้วก็แบ่งใช้เป็นวันไป
แบบนี้ก็จะช่วยคุมไม่ให้เราใช้จ่ายเกินตัว ไม่ต้องเอาเงินไปซื้ออะไรที่มันไม่จำเป็น
ถือว่าเป็นการบังคับตัวเองไปในตัวและฝึกวินัยในการใช้เงินไปด้วยค่ะ
4. เก็บแบงค์ 50 หรือว่าเก็บแบงค์ใหม่
วิธีเก็บแบงค์ 50 หรือว่าการเก็บแบงค์ใหม่ ก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างได้รับความนิยมค่ะ หลายๆ คนก็ทำกันอยู่
เพราะว่าแบงค์ 50 เป็นแบงค์ที่ไม่ได้มีมูลค่าเยอะเกินไปแล้วก็ไม่น้อยจนเกินไปเวลาเก็บก็จะไม่ค่อยกระทบกับ
เงินในกระเป๋าเท่าไหร่ หรือบางคนก็เลือกเก็บเป็นแบงค์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นใบละ 20 100 500 หรือ 1,000 บาง
คนก็เลือกจะเก็บทั้งหมดถ้าเป็นแบงค์ใหม่ที่ยังไม่มีรอยพับลองเก็บใส่กล่องไปเรื่อยๆ พอครบ 1 ปีก็ค่อยเอาออกมาเช็คจำนวนเงินค่ะ
5. หยอดกระปุก
อย่าดูถูกพลังของเศษเหรียญค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ 5 เหรียญ 10 เหรียญบ าท ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าน้อย
แต่ว่าถ้าเราเก็บเยอะๆ ก็จะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายเพราะไม่ว่าจะมีมูลค่ามากน้อยก็ถือว่า
เป็นเงินการที่เราเก็บแบบนี้อาจจะไม่ได้ทำให้เราร่ำรวยหรือว่ามีเงินมากขึ้นใน 1 ปี แต่ว่าเป็น
การฝึกนิสัยของการในการออม ฝึกนิสัยของการรู้คุณค่าของเงินทุกบ าททุกสตางค์เพราะว่าไม่ว่าจะเล็กน้อยยังไงก็เป็นเงินค่ะ