
การมีหนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิต การที่คุณหยิบยืมเงินจากผู้อื่นนั่นเท่ากับว่าคุณ
ได้รับโอกาสต่อลมหายใจออกไปแล้ว ที่สำคัญเมื่อตัวเองได้รับความช่วยเหลือ
ก็จงอย่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น และพยามยามใช้คืนดังนี้
1. ปรับพฤติกร รมสิ้นคิดบางอย่างลง
ถ้าแม้คุณจะมีบัญชีรายรับรายจ่าย หรือคุณจะรู้และเข้าใจความผิดพลาด
ที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ถ้าคุณยังไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกร รมตัวเอง มันก็แทบจะไม่มีประโยชน์
อะไรเลยแล้วคุณก็ไม่อาจหลุดพ้นจากวังวนนั้นแน่นอน จำไว้ว่าการจะเปลี่ยนแปลง
ตัวเองได้คุณต้องอาศัยความอดทน และความตั้งใจอย่างมาก
2. สำรวจข้อผิดพลาดในอดีตของตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
ก่อนจะใช้หนี้ได้ คุณต้องเข้าใจเสียก่อนว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับคุณบ้าง
คุณจะได้เข้าไปแก้ไขอย่างตรงจุด ถ้าคุณไม่สำรวจความผิดพลาดในอดีต
เชื่อเถอะว่าในไม่ช้าวังวนเดิมๆ จะกลับมาหาคุณอย่างแน่นอน
3. บริหารเงินที่เหลือจากการตัดรายจ่ายนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การบริหารเงินที่เหลือจากการจัดการรายจ่ายที่ไม่จำเป็นนั้นอย่างเดียว
คุณควรจะวางแผนการเงินตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ เงินที่ได้เพิ่มมานั้น คุณควรจะวางแผนดีๆ
ว่าแต่ละส่วนคุณจะจัดการอย่างไรส่วนไหนเก็บ ส่วนไหนกันไว้ใช้หนี้ คุณต้องแบ่งแต่ละส่วนให้ชัดเจนครับ
4. พูดคุยให้ชัดเจนถึงเหตุผลที่เราต้องหยิบยืมเงินเพื่อน ยืมเงินญาติ
การจะขอความช่วยเหลือจากใครสักคน สิ่งแรกคือคุณต้องชัดเจน
อย่าอมพะนำไม่พูดความจริงคนที่จะช่วยเหลือจึงจะทราบสถานการณ์และความจำ
เป็นของคุณโดยละเอียดและควรกำหนดเวลาใช้คืนให้ชัดเจนว่าคุณพร้อมใช้คืนเมื่อไหร่
และที่สำคัญเมื่อได้รับความช่วยเหลือมาแล้ว อย่าได้หายหน้าหายตาไปอย่างเด็ดขาด
แม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็จงติดต่อกับเพื่อนเพื่อแสดงความจริงใจตลอดเวลา
หากคุณยังติดขัดอะไรอยู่จงบอกเหตุผลกับเพื่อนหรือญาติเสมอ การหายเข้ากลีบเมฆ
คุณกำลังทำลายตัวเองและความน่าเชื่อถือของตัวเองอย่างน่าอดสูที่สุด
5. ถ้าบริหารแล้วยังไม่พอก็ต้องหารายได้เพิ่ม
สำนวนที่ยังคงเป็นจริงเสมอคือประโยคที่ว่า “หาให้มากกว่าใช้”ถ้าคุณบริหารทุกอย่างแล้ว
ยังไม่เป็นไปตามเป้า คุณก็ควรจะหารายได้เพิ่มเติมครับสำรวจว่าคุณมีศักยภาพอะไร หรือถนัดอะไร
และมันพอจะเอามาเป็นวิธีหารายได้เพิ่มเติมได้หรือไม่แล้วจงลงมือทำเสีย
เอาเวลาที่มานั่งเครียดนั่งกุมขมับมาหาเงินเพิ่มดีกว่าครับ
6. ทำบัญชีค่าใช้จ่ายเพื่อเปรียบเทียบสมดุลของรายได้และรายจ่าย
จริงๆ สิ่งนี้เป็นหัวข้อคลาสสิคที่สุดสำหรับการสร้างวินัยทางการเงิน
เพราะมันจะบอกคุณเลยว่าในแต่ละเดือนคุณมีรายได้เข้ามาเท่าไรและคุณเสีย
เงินไปกับเรื่องอะไรบ้าง คุณจะได้เข้าไปจัดการกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น