
ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนคงจะหวั่นกับความเสี่ยงที่จะตกงาน
หรือถูกเลิกจ้างเป็นอย่างมาก หรือแม้แต่บางคนที่ตัดสินใจลาออกจากเอง
เพราะรู้สึกไม่มีความสุขกับการทำงาน แต่ก็ต้องมานั่งกลุ้มใจทีหลัง กับค่าใช้จ่าย
และภาระหนี้สินที่แบกไว้ วันนี้เราจะมาบอกสิ่งที่ต้องทำ หลังจากออกจากงาน
หรือถูกเลิกจ้าง ว่าควรทำทำอย่างไรต่อไป
1. ติดต่อประกันสังคม
หากคุณว่างงาน สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ การจัดการเรื่องประกันสังคมให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะว่างงาน
จากการลาออกเอง หรือถูกไล่ออก ต้องรีบไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อรักษาสิทธิ และประโยชน์ที่เราพึงจะได้รับ
โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องจ่ายเงินประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน
ก่อนว่างงาน หากว่างงานจากการลาออกเอง จะได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
หากว่างงานจากการถูกไล่ออก จะได้รับเงินตอบแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
โดยต้องไปขึ้นทะเบียบที่สำนักงานจัดหางาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงาน
และจะยังคงได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคมไปอีก 6 เดือน หลังจากที่ออกจากงาน และ
หากใครต้องการที่จะอยู่ในระบบประกันสังคมต่อหลังจากออกจากงานแล้ว ก็สามารถสมัคร
เป็นผู้ประกันตน โดยจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท และยังได้รับความคุ้มครองทั้งหมด 6 กรณี ตามกฏหมาย
2. ตรวจสอบสภาพการเงินของคุณ
เมื่ออยู่ในสถานะว่างงาน การตรวจสอบสภาพการเงินของคุณในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
คุณต้องคำนวณถึงรายจ่าย และภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายทุกเดือน และมองหารายได้ที่ยังเหลืออยู่
ว่าเพียงพอหรือไม่ อย่างไร เพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัว และรับมือกับสถานการณ์การเงินของคุณได้ถูกต้อง
รายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็น ก็ให้เอาออกไป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ให้สมดุลกับการเงินปัจจุบัน
3. เปลี่ยนพฤติกร รมการใช้เงิน
หลังจากตรวจสอบการเงินของคุณเรียบร้อยแล้ว คุณจะทราบถึงทิศทางการเงินของคุณ ระหว่างรายได้
กับรายจ่าย แน่นอนว่ารายได้ของคุณลดลง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกร รมการใช้เงินอย่างเร่งด่วน
ต้องลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยออกไปให้หมด และจ่ายให้น้อยลงสำหรับสิ่งที่จำเป็น
ในส่วนของค่าใช้จ่าย หรือภาระหนี้สินที่คุณต้องจ่ายนั้น ให้เลือกลดเป็นอันดับสุดท้าย เพราะมันจะ
มีผลกระทบต่อเครดิตและความน่าเชื่อถือของคุณ เป็นการเรียงลำดับความสำคัญในการเลือกที่จะใช้จ่ายนั่นเอง
4. เคลียร์เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สำหรับเรื่องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากคุณเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คุณก็จะได้ประโยชน์จากเงินสะสม
โดยสามารถรับเป็นเงินก้อนได้ เวลาออกจากงานก็จะมีเงินก้อนไว้สำรองเลี้ยงชีพ แต่หากคุณยังไม่ได้จำเป็น
ที่จะใช้เงินก้อนนี้ ก็อาจจะคงเงินไว้ในระบบก่อน เพื่อรอโอนย้ายไปยังกองทุนของบริษัทใหม่ในอนาคต
แต่หากคุณออกจากกองทุนโดยที่ยังไม่เกษียณอายุ คุณอาจจะเสี ยผลประโยชน์จากเงินสมทบที่จะได้รับ
ไม่เต็มจำนวน ดังนั้นควรศึกษาเงื่อนไขต่างๆอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เสี ยเปรียบผลประโยชน์ที่คุณควรจะได้รับ
5. เก็บรักษาเงินก้อน
หากว่างงาน และได้เงินก้อน อย่าเพิ่งรีบร้อนใช้เงินเงินก้อนนี้ หรือแม้แต่จะนำไปปลดหนี้ เพื่อหวังลดภาระหนี้สิน
วิธีที่ดีที่สุดที่จะจัดการกับเงินก้อนนี้อย่างชาญฉลาด คือการนำเงินก้อนนี้มาแบ่งสรรปันส่วน จัดสรร
เงินเพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และการจ่ายคืนหนี้ได้ตามกำหนด ไว่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย
ในชีวิตประจำวัน ค่าบ้าน ค่างวดรถ ค่าบัตรเครดิต และอื่นๆ
คุณควรที่จะกันเงินสำรองนี้ รวมถึงเงินส่วนอื่นๆ ที่จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติไปอีก
6 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถอยู่ได้อย่างปกติ จนกว่าจะหางานใหม่ทำได้
6. มองหางานใหม่
หลายคนเมื่อว่างงาน ก็มักจะรีบเร่งหางานใหม่ทันที โดยที่ไม่ได้มองถึงความชอบของงานจริงๆ
กลายเป็นว่าทำได้ไม่นาน ก็ต้องลาออกมาหางานใหม่อีกเหมือนเดิม แน่นอนว่าการหางานที่ชอบ
ทำแล้วมีความสุข กับเพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมที่ทำงานดีๆ รวมถึงผลตอบแทน
ที่น่าพอใจนั้นหายากยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทร
การจะทำงานและอยู่กับมันให้ได้นานๆก็ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก คือ เนื้องหาของงาน รายได้ และผู้ร่วมงาน
หากใครมีความพอใจต่อสิ่งเหล่านี้ได้ 2 ใน 3 อย่าง ก็จะสามารถทำงานนั้นได้อย่างยาวนาน และ
ไม่ต้องเปลี่ยนงานบ่อยๆ ดังนั้นเราควรที่จะมองหาสิ่งที่ตรงกับความต้องการของตัวเองและสามารถ
อยู่กับมันได้นานๆ โดยที่ไม่ต้องกลับมาตกอยู่ในสถานะว่างงานอีก
7. พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
ถึงแม้ว่าเรากำลังตกอยู่ในสถานะคนว่างงาน ก็ใช่ว่าเราจะต้องปล่อยเวลาทิ้งไปให้เปล่าประโยชน์ หรือ
ตระเวนหาแต่งานใหม่ จนลืมไปว่าสิ่งสำคัญอีกอย่างในการที่จะเริ่มต้นการทำงานใหม่ คือ ศักยภาพ
ที่สูงขึ้นของเราเอง เราควรมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องของภาษาต่างประเทศ
หรือทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในทุกสายงานปัจจุบันไปแล้ว
นอกจากนี้ การพัฒนาศักยภาพตัวเองในด้านวิชาชีพตามความต้องการในสายงานที่จะทำ ก็จำเป็น
และมีผลต่อการพิจารณารับเราเข้าทำงานเป็นอย่างมาก เราจึงไม่ควรปล่อยช่วงเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
ใช้เวลาที่ว่างงานนี้แหละ มองหาโอกาสพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมกับการทำงานในอนาคต
8. ทำงานฟรีแลนซ์
หลายคนมีความฝันที่อยากจะทำงานอิสระ ไม่ต้องไปเป็นลูกน้องรับคำสั่งจากใคร หรือคอยรองรับอารมณ์ใคร
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเป็นได้อย่างที่หวัง ด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคง และความแน่นอนของรายได้
จึงทำให้หลายคนไม่กล้าที่จะออกมาใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ
ดังนั้น เวลาว่างงาน จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้เราได้ลองทำในสิ่งที่อยากจะทำ และยังเป็นการหารายได้ให้ตัวเอง
โดยอาจจะเริ่มจากรับงานฟรีแลนซ์เล็กๆที่สามารถทำคนเดียวได้ และเมื่อพบลู่ทางจะได้สามารถนำมา
เป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้หลักให้กับเรา โดยที่ไม่ต้องกลับไปเป็นพนังงานเงินเดือนอีกต่อไป